Digital Graphic SBAC วิทยาลัยอาชีวะ ปวช. ปวส. เรียนดิจิตัลกราฟฟิค

ออกแบบให้ “คิดเป็น” ด้วยพลังของ Symbolization – Digital Graphic @SBAC

ผู้เขียน: นายธนาลักษณ์ ตันธนกุล
Thanalak Tantanagul
หัวหน้าแผนกดิจิทัลกราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
Head of Digital Graphics Department, Siam Business Administration Technological College (SBAC)

เมื่อโลโก้กลายเป็นทักษะสำคัญของ “สมองยุคดิจิทัล”
When Logos Become a Key Skill of the Digital Mind

ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “โลโก้” ไม่ได้เป็นแค่สัญลักษณ์ของแบรนด์อีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือที่สื่อสารความหมายได้ภายในเสี้ยววินาที ทั้งในแง่ของความเข้าใจง่าย ความจดจำ และความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในสายงาน Digital Graphic ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษายุคใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จึงมุ่งมั่นพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง งานวิจัยฉบับนี้ได้หยิบเทคนิค “การลดทอน” หรือ Symbolization มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะให้นักศึกษา “คิดเป็น คิดเร็ว และคิดลึก” ผ่านกระบวนการ ออกแบบโลโก้ ที่เน้นสื่อสารแก่นสารสำคัญมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก

In today’s rapidly changing world, logos are no longer just visual identifiers of brands—they’ve become powerful tools for conveying meaning within seconds, emphasizing clarity, memorability, and creativity. This is especially true in the fast-growing field of Digital Graphic design, which is gaining popularity among modern students. Siam Business Administration Technological College (SBAC) is committed to developing future-ready learning approaches in response to digital-era demands. This research highlights the Symbolization technique as a tool for training students to “think smart, think fast, and think deep” through the process of logo design that prioritizes essential meaning over surface aesthetics.

Symbolization อยู่รอบตัวคุณมากกว่าที่คิด It’s All Around You !

หากเราลองมองไปรอบๆ จะพบว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับเทคนิคนี้มาตลอดโดยที่เราอาจไม่ทันได้สังเกต

สัญลักษณ์จราจรด้วยหลักการลดทอน Symbolization วิธีการสอน สาขาวิชา Digital graphic ดิจิตัลกราฟฟิค SBAC ปวช ปวส
ป้ายจราจรคือหนึ่งในตัวอย่างคลาสสิกของ การออกแบบสื่อสารด้วยภาพ (Visual Communication Design) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นภาพคนเดินข้ามถนน ป้ายหยุด หรือป้ายห้ามจอด ล้วนเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการ ลดทอนข้อมูล ให้เหลือเพียง “สาระสำคัญ” ที่เข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ข้อความหรือภาษาพูดร่วมด้วย

Traffic signs are a classic example of visual communication design at its most effective. Icons like pedestrian crossings, stop signs, or no-parking symbols are powerful results of Symbolization—the distillation of meaning into instantly understood visuals without relying on words.

เบื้องหลังโลโก้ของแอปพลิเคชันชื่อดัง เช่น Facebook, Instagram หรือ Twitter คือการออกแบบด้วยแนวคิด การลดทอน (Symbolization) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจดจำแบรนด์ได้ในพริบตา แม้จะเห็นเพียงแค่ไอคอนขนาดเล็กบนหน้าจอมือถือ
การออกแบบโลโก้ของแอปเหล่านี้จึงไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม แต่ถูกพัฒนาให้ตอบโจทย์ด้าน UI/UX, Digital Branding และ การสื่อสารด้วยภาพ โดยตรง ซึ่งเป็นหัวใจของหลักสูตร Digital Graphic ของ SBAC

Behind the sleek app icons of Facebook, Instagram, or Twitter lies a powerful application of Symbolization—distilling complex brand identities into instantly recognizable visuals, even at thumbnail size on a phone screen.
These logos aren’t just pretty—they’re strategically designed to support UI/UX, digital branding, and visual communication. This principle is a core part of the Digital Graphic curriculum at Siam Business Administration Technological College (SBAC), where students learn how a “small icon” can represent an entire concept, evoke emotion, and reinforce brand identity.

สื่อการสอน ด้วยหลักการลดทอน Symbolization วิธีการสอน สาขาวิชา Digital graphic ดิจิตัลกราฟฟิค SBAC ปวช ปวส
สื่อการสอนด้วยหลักการลดทอน Symbolization วิธีการสอน สาขาวิชา Digital graphic ดิจิตัลกราฟฟิค SBAC ปวช ปวส
ลองนึกถึงสัญลักษณ์ปุ่ม Power, Wi-Fi หรือ Bluetooth ที่คุณเห็นอยู่ทุกวันบนอุปกรณ์ไอที ไม่ว่าจะเป็นมือถือ, แล็ปท็อป หรือทีวี สัญลักษณ์เหล่านี้คือผลลัพธ์ของการ ลดทอนแนวคิดที่ซับซ้อน ให้กลายเป็นภาพที่ทุกคนเข้าใจได้ โดยไม่ต้องมีคำบรรยายใด ๆ
การออกแบบปุ่มเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ Icon Design ที่มีรากฐานมาจากหลักการ Digital Graphic Design ซึ่งเน้นการสื่อสารผ่านภาพในบริบทที่ต้องรวดเร็ว ชัดเจน และสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของ UX/UI Design ที่ต้องให้ผู้ใช้ “เข้าใจในคลิกเดียว” หรือ “กดปุ๊บรู้ปั๊บ”

ปุ่มเล็ก ๆ ที่ดูเรียบง่ายเหล่านี้ อาจเป็นหนึ่งในผลงานออกแบบที่ผ่านกระบวนการคิดที่ลึกที่สุด

Imagine the Power, Wi-Fi, or Bluetooth icons you see daily on your devices—smartphones, laptops, TVs. These tiny symbols are the result of distilling complex functions into clear, universally understood visuals, all without a single word.
This is a textbook example of effective icon design, rooted in digital graphic principles that prioritize fast, intuitive, and global communication. In UX and UI design, these icons are essential—users must know what to do at a glance, with no room for confusion.

Sometimes the simplest icons come from the most thoughtful design processes.

ตัวอย่างสื่อการสอน หลักการลดทอน Symbolization – Digital Graphic @SBAC

การลดทอนจากสถาปัตยกรรม (สิ่งปลูกสร้าง)

จากรูปสิ่งปลูกสร้างจริง อาจารย์ให้นักเรียนฝึกแปลงภาพเป็นโทนขาว-ดำ เพื่อมองหาจุดเด่นของรูปทรง จากนั้นจึงใช้เทคนิค การลดทอน (Symbolization) เพื่อออกแบบให้เหลือเพียง “รูปทรงที่สื่อความหมาย” โดยไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดทุกส่วน วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจการออกแบบโลโก้จากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตจริง

Starting from a real-world architectural structure, students first convert the image into black-and-white to identify its key forms. They then apply symbolization techniques to simplify the structure into a visually meaningful form. This method helps students understand how to design logos inspired by everyday objects and buildings.

การลดทอนจากสิ่งมีชีวิต

ภาพนี้แสดงขั้นตอนของการลดทอนจากภาพถ่ายจริง → เงาดำ → จนกลายเป็นรูปแบบไอคอนในขั้นสุดท้าย นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าการ “เห็นภาพรวม” และ “จับจุดสำคัญ” ของวัตถุ เป็นพื้นฐานของการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้ในสายงาน Digital Graphic

This example shows the step-by-step simplification of a living creature—from a realistic photo, to silhouette, to a stylized icon. Students learn to identify core shapes and essential features, which is the foundation of symbolic design in the field of Digital Graphics.

โลโก้จากธรรมชาติ

ภาพนี้ใช้ดอกบัวเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบโลโก้ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ “รูปทรงธรรมชาติ” แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบแบรนด์จริง เช่น โลโก้ธนาคาร ซึ่งผ่านการลดทอนให้เรียบง่ายแต่ยังคงความหมายของต้นแบบอย่างชัดเจน

This image uses a lotus flower as inspiration for logo design. Students learn how to analyze natural forms and apply them in real-world branding—like this bank logo, which has been simplified through symbolization while still clearly reflecting its original meaning.

📈 คะแนนพุ่ง 43%! เมื่อการเรียนรู้ด้วย Symbolization

A 43% Boost! How Symbolization Transformed Student Performance

การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการลดทอน (Symbolization) โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขาดิจิทัลกราฟิก ได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคนิคดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับ ปวส.1 สาขาดิจิทัลกราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จำนวน 41 คน ทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการลดทอน 

ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน: 11.97 คะแนน
แสดงว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจในการออกแบบเชิงแนวคิด

Average score before learning: 11.97 pointsIndicating that students lacked sufficient understanding of conceptual design principles

ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียน: 17.12 คะแนน เพิ่มขึ้น 43%
แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการอย่างชัดเจนหลังเรียนด้วยเทคนิค Symbolization

Average score after learning: 17.12 points (an increase of 43%)
Demonstrating a significant improvement after applying the Symbolization technique

เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ยืนยันว่าเทคนิคการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้สามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางการเรียนได้จริง

Statistically significant improvement (p < 0.05)
Confirming that this innovative learning method effectively enhances academic performance

Digital Graphic SBAC วิทยาลัยอาชีวะ ปวช ปวส เรียนดิจิตัลกราฟฟิค หาที่เรียนกราฟฟิค

นักศึกษาให้คะแนนเทคนิคนี้ “ดีมาก”
Student Satisfaction Soared! This Technique Earned High Praise

นักศึกษาเห็นว่าเทคนิคนี้ไม่เพียงแต่เข้าใจง่าย แต่ยังช่วยให้พวกเขาทำงานได้รวดเร็วขึ้น และคิดสร้างสรรค์มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยสรุปจากคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้าน:

Students found the approach not only easy to grasp but also effective in boosting their creativity and speeding up their design process. Here’s a breakdown of their satisfaction

เข้าใจง่าย (Easy to understand): 4.54 / 5.00
นักศึกษาชื่นชมว่ากระบวนการสอนเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้สึกสับสน

 Students appreciated the clear and straightforward process, allowing them to follow along without confusion.

เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ (Boosted creativity): 4.61 / 5.00
เทคนิคนี้กระตุ้นไอเดียใหม่ ๆ และทำให้นักศึกษา “กล้าคิดนอกกรอบ” ในการออกแบบ

The method sparked fresh ideas and encouraged students to think “outside the box” with their designs.

 ลดเวลาออกแบบ (Increased efficiency): 4.68 / 5.00
นักศึกษารู้สึกว่าสามารถออกแบบได้เร็วขึ้น โดยไม่ลดคุณภาพของผลงาน

 Students reported faster project completion—without compromising the quality of their work.

ทักษะนี้ “สอนได้” และ “ต่อยอดได้”
This Skill Can Be Taught and Expanded

เทคนิค Symbolization ไม่ได้ใช้ได้แค่วิชาออกแบบโลโก้เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ใน:

  • การสอน Infographic (Infographic design) ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลซับซ้อนเป็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น
    Simplifies complex data into understandable visuals

  • สื่อดิจิทัลและโฆษณา: (Digital media & advertising) เน้นความสื่อสารเร็วในพื้นที่จำกัด เช่น โฆษณาออนไลน์ 5 วินาที
    Helps convey messages quickly, especially in short video ads

  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging design) สัญลักษณ์ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจผลิตภัณฑ์ได้ทันที
    Icons help consumers understand product features instantly

  • กิจกรรมพัฒนา Soft Skill (Soft skill development) ฝึกให้เด็กๆ คิดเชิงภาพและฝึกแก่นความคิด
    Encourages visual thinking and core idea extraction in students
Digital Graphic SBAC วิทยาลัยอาชีวะ ปวช ปวส เรียนดิจิตัลกราฟฟิค หาที่เรียนกราฟฟิค

อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ คืออาจารย์ที่ไม่หยุดพัฒนา

Behind Every Innovation Is a Teacher Who Never Stops Improving

และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนความมุ่งมั่นของอาจารย์ไทยยุคใหม่
ขอขอบคุณ อาจารย์ธนาลักษณ์ ตันธนกุล
หัวหน้าแผนกดิจิทัลกราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ผู้ทุ่มเทสร้างสรรค์งานวิจัยด้านการเรียนรู้ด้วย Symbolization และออกแบบกระบวนการสอนให้นักศึกษาสามารถ “คิดเป็น-สื่อสารเป็น-ออกแบบเป็น” อย่างแท้จริง

This is yet another example of the dedication of forward-thinking Thai educators.
Special thanks to Mr. Thanalak Tantanagul,
Head of the Digital Graphics Department at Siam Business Administration Technological College (SBAC),
for his commitment to developing innovative teaching through Symbolization and designing lessons that empower students to truly “think, communicate, and create.”

#SBAC #DigitalGraphic #วิทยาลัยอาชีวะ #เรียนต่อปวช #เรียนต่อปวส #กราฟิกดีไซน์ #อาชีวะทันสมัย #เรียนสายครีเอทีฟ #การศึกษายุคใหม่ #วิจัยการสอน #Symbolization #โลโก้ #ออกแบบกราฟิก

อยากเป็นนักออกแบบมืออาชีพในยุคดิจิทัล?

สาขา Digital Graphic วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) พร้อมปั้นคุณให้พร้อมรองรับอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Graphic Designer, Web Designer, Game Designer, Motion Graphic, 2D/3D Animator, Editor หรือแม้แต่ Creative Director! ที่นี่เราเน้นสอนด้วยเทคโนโลยีจริง ฝึกทักษะคิดเป็น ทำเป็น พร้อมต่อยอดสู่อาชีพด้านกราฟิกดีไซน์และการออกแบบดิจิทัลที่ตลาดต้องการในอนาคต

Want to become a professional designer in the digital era? The Digital Graphic Program at Siam Business Administration Technological College (SBAC) prepares you for diverse creative careers—from Graphic and Web Designer to Game Designer, 2D/3D Animator, Motion Graphic Artist, Video Editor, and even Creative Director. Our hands-on learning approach equips students with real-world digital skills, creative thinking, and career-ready experience for today’s fast-growing design industry.