ผู้เขียน : ดร.ยุพิน ทองส่งโสม 

                                                                                                                                              ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพและพัฒนาระบบ

                                                                                                                                                        วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)

 

 

           ในยุคดิจิทัลองค์กรต่าง ๆ มีการปรับตัวและตื่นตัวตามการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่งผลให้แต่ละองค์กรจำเป็นต้องพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด จึงต้องนำเครื่องมือ  OKR  (Objectives and Key Results)  มาใช้ในกระบวนการตั้งเป้าหมายและวัดผลสำคัญที่สำคัญ เพื่อช่วยให้ทีมหรือองค์กรสามารถตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้โดยชัดเจน การใช้ OKR ช่วยให้ทุกคนในองค์กรมุ่งมั่นทำงานในทิศทางเดียวกัน เกิดความโปร่งใส และมุ่งเน้นที่เป้าหมายที่สำคัญภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้  มาดูความหมายของ OKR กันค่ะ

 

OKR  ย่อมาจาก    Objective Key Results

 

Objective (วัตถุประสงค์) คือ สิ่งที่เราต้องการให้ประสบความสำเร็จ

 

Key Results (ผลลัพธ์ที่สำคัญ) คือ ระบุว่าเราจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

 

          ดังนั้นจะเห็นว่าการทำงานโดยใช้เครื่องมือ OKR นี้ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องที่องค์กรทำอยู่แล้ว แล้วมาสร้างความท้าทาย หาแนวทางการวัดความสำเร็จเพื่อให้บุคลากรสามารถนำศักยภาพของตัวเองมาใช้อย่างเต็มที่ โดยสร้างให้บุคลากร มีมุมมองแบบ Growth Mindset

 

คุณสมบัติที่สำคัญของ OKR ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีดังนี้

    1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในภาพรวม ผลลัพธ์ที่สำคัญจะต้องวัดได้ง่าย
    2. ความท้าทาย ทำได้ยาก แต่ก็ยังคงความเป็นไปได้
    3. ทุกคนจะต้องมี OKR เป็นของตนเอง
    4. มีการให้คะแนนกับผลการดำเนินงาน และให้เจ้าของ OKR ได้ประเมินตนเองด้วย
    5. จะไม่เขียน OKR ในทุกเรื่องแต่จะกำหนดเฉพาะเรื่องที่สำคัญ และต้องทุ่มเททำให้สำเร็จ งานทั่ว ๆ ไปไม่ต้องนำมากำหนดเป็น OKR

 

            วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้นำ OKR  มาเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางและเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ได้ส่งเสริมให้บุคลากรได้เรียนรู้และเข้าใจทิศทางการทำงาน โดยใช้ OKR เป็นเครื่องมือการประเมินความสำเร็จ ทำให้บุคลากรได้ทำงานร่วมกัน รู้เป้าหมายวิทยาลัยชัดเจน  และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้หลักการดังนี้

                                          

 

          OKR เป็นเครื่องมือในการทำงานของ SBAC ในรูปแบบ SBAC OKR MODEL  ทำให้บุคลากรแต่ละคนเห็น OKR ของกันและกันได้ สามารถช่วยเหลือและเสนอแนะซึ่งกันและกัน เกิดการบูรณาการข้ามฝ่ายแผนก ซึ่งทำให้เกิดการร่วมมือกันในองค์กร  ตลอดทั้งมีการติดตาม ประเมินและรายงานผลความสำเร็จในแต่ละ Quater  เปิดรับ Feedback เพื่อพัฒนาปรับปรุงพัฒนางานให้ได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้วิทยาลัยประสบความสำเร็จในการใช้ OKR อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน